วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

         สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้แจกข้อสอบไปทำ โดยให้นักศึกษาส่งวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์นี้ โดยข้อตกลงในการทำข้อสอบคือ ต้องค้นคว้าหาความรู้จากงานวิจัย บทความ และเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

กิจกรรมในห้องเรียน

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
-สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็ก และให้คำชมอยู่เสมอ
-ให้การเสริมแรงทางบวก
-รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่้ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก 
-IEP

การรักษาด้วยยา

-Ritalin
-Dexedrine
-Cylert

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ)
-โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-ศูนย์การศึกษาพิเศษ(Early Intervention . EI)
-โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-สถาบันราชานุกูล

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เนื้อหาที่เรียน

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว (Family Empowerment)
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก (Ability Enhancement)
การส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
ส่งเสริมพัฒนาการ (Developmental Intervention)
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
 สังคม และการปรับพฤติกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม
แก้ไขการพูด (speech Therapy)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติเพิ่มมากขึ้น
-ลดการการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
-การสื่อสารความหมายทดแทน (AAC)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
ฝึกทักษะสังคม (Social Skills Training)
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถทำด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
-Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง /ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น 
พฤติกรรมซ้ำ ๆ พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชักใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
การแพทย์เสริมและทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine)
1. ศิลปะบำบัด (Art Therapy)       
2. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)  
3. ละครบำบัด (Drama Therapy)  
4. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
5. การฝังเข็ม (Acupuncture)         
6. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)
พ่อ แม่ (Parent)
-“ลูกต้องพัฒนาได้
-“เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-“ถ้าเราไม่รัก ใครจะรัก
-“หยุดไม่ได้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-หันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13





กิจกรรม

**หมายเหตุ**

            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาและให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอความบกพร่องของเด็กพิเศษ 
ให้เพื่อนๆได้รับชม แล้วให้เพื่อนประเมิน การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

เนื้อหาที่เรียน 

เรื่อง  พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

          พัฒนาการ  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะ
ต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                 

 พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม
        เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ   หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ
ในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก 
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็ก
ได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ 
สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น 
ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท
 และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา
 หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน 
เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา
 ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
     มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่
 กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา  การใช้ภาษา  ความเข้าใจภาษา 
การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติข
องระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น  ปฏิกิริยาสะท้อน
 (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
 กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
 เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static)
 หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ
2.2  ภาวะตับม้ามโต
2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers
 2.4 ระบบประสาทต่างๆ
2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บักการเรียนครั้งที่ 11

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองไม่ปกติ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่10

- นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  

กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P
กลุ่มที่2    Children with Learning Disabilities L.D.
กลุ่มที่3    Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders

**ซึ่งนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น เหลืออีก 2 กลุ่มที่ต้องนำเสนอสัปดาห์หน้า

กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P